top of page
  • pundhita

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

อัปเดตเมื่อ 26 ก.ค. 2562





สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระที่นั่งขึ้น เดิมมีพระดำริว่าจะใช้สำหรับเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ในระหว่างนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2330พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระบรมราชโองการให้พระองค์เสด็จขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่เพื่อสำรวจการสร้างเมืองขึ้นใหม่ให้ประชาชนอยู่ได้ตามปกติ ซึ่งในขณะนั้น เมืองเชียงใหม่อาจจะถือได้ว่าเป็นเมืองร้างเนื่องจากเกิดศึกสงครามอยู่บ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่จึงอพยพลี้ภัยไปอาศัยอยู่เมืองอื่น ในระหว่างการสำรวจนั้น พระองค์ได้พบพระพุทธสิหิงค์ และทรงระลึกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐาน ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาที่พระนคร แล้วทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้ พร้อมทั้งสร้างปราสาททองห้ายอดถวายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และประทานนามพระที่นั่งว่า "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์"




ภายหลังการเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชดำริว่า "พระพุทธรูปเงินทองและของพุทธบูชามีอยู่ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มาก หากทิ้งไว้ผู้ร้ายจะลักเอาไปเสีย" ดังนั้น จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปอื่น ๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่นั้นมา


ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระองค์โปรดให้รื้อปราสาททองห้ายอดซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ออก แล้วให้ตั้งพระแท่นเศวตฉัตรแทนเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกแขกเมือง และพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนา

ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ใหม่ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า การปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นที่น่าชมอย่างหนึ่งที่ของเดิมสิ่งใดดีเอาไว้หมดทุกอย่าง เป็นแต่ซ่อมแซมที่ชำรุด จึงยังแลเห็นของเดิมที่ทำโดยประณีตบรรจงมาจนทุกวันนี้ พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงเปลี่ยนนาม "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์" เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์"









ดู 19 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page